เมนู

คลอง 1 เพราะทนต่อความย่ำยีได้อย่างวิเศษ 1 เพราะฟังอยู่ก็เป็นสุข 1
เพราะใคร่ครวญอยู่ก็มีประโยชน์ 1 ดังนี้.

[เวรัญชพราหมณ์ชมเชยพระธรรมเทศนาด้วยอุปมา 4 อย่าง]


แม้เบื้องหน้าแต่นั้นไป เวรัญชพราหมณ์ ย่อมชมเชยเทศนานั่นแล
ด้วยอุปมา 4 ข้อ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกฺกุชฺชิตํ คือ ภาชนะที่เขาวางคว่ำ
ปากไว้ หรือมีที่ปากอยู่ภายใต้.
บทว่า อุกฺกุชฺเชยย คือ พึงหงายปากขึ้น.
บทว่า ปฏิจฺฉนฺนํ คือ ที่เขาปิดไว้ด้วยวัตถุมีหญ้าและใบไม้เป็นต้น.
บทว่า วิวเรยฺย คือ พึงเปิดขึ้น
บทว่า มูฬฺหสฺส คือ คนหลงทิศ.
สองบทว่า มคฺคํ อาจิกฺเขยฺย ความว่า พึงจับที่มือแล้วบอกว่า
นี้ทาง.
บทว่า อนฺธกาเร ความว่า ในความมืดมีองค์ 4 (คือ) เพราะ
วันแรม 14 คำในกาฬปักษ์ 1 กลางคือ 1 ไพรสนพที่หนาทึบ (ดงทึบ) 1
กลีบเมฆ 1. ความหมายแห่งบทที่ยังไม่กระจ่างมีเท่านี้ก่อน :-
ส่วนการประกอบความอธิบาย มีดังต่อไปนี้ :-
(เวรัญชพราหมณ์ ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า) ท่านพระโคคม
ผู้เจริญ ทรงยังเราผู้เบือนหน้าหนีจากพระสัทธรรม ตกไปในอสัทธรรมแล้ว
ให้ออกจากอสัทธรรม เหมือนใคร ๆ พึงหงายภาชนะที่คว่ำขึ้นไว้ฉะนั้น ทรง
เปิดเผยพระศาสนาที่ถูกรกชัฏคือ มิจฉาทิฏฐิปกปิดไว้ ตั้งต้นแต่พระศาสนา

ของพระกัสสปผู้มีพระภาคเจ้าอันตรธานไป เหมือนใคร ๆ พึงเปิดของที่ปิดไว้
ออกฉะนั้น ทรงตรัสบอกทางสวรรค์และนิพพานให้แก่เรา ผู้ดำเนินไปสู่ทาง
ชั่วและทางผิด เหมือนใคร ๆ พึงบอกทางให้แก่คนหลงทางฉะนั้น ทรงส่อง
แสงสว่าง คือเทศนา อันเป็นเครื่องกำจัดความมืด คือโมหะอันปกปิดรูป
คือพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นนั้น แก่เรา ผู้จมอยู่ในความมืด คือ
โมหะ ซึ่งไม่เห็นรูป คือพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เหมือนใคร ๆ
พึงส่องประทีปน้ำมันในที่มืดให้ฉะนั้น ได้ทรงประกาศพระธรรมแก่เรา โดย
อเนกปริยาย เพราะทรงประกาศ ด้วยบรรยายทั้งหลายเหล่านี้.

[เวรัญชพราหมณ์แสดงตนถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง]


เวรัญชพราหมณ์ ครั้นชมเชยพระธรรมเทศนาอย่างนั้นแล้ว มีจิต
เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เพราะพระธรรมเทศนานี้ เมื่อจะทำอาการอันผู้มี
ความเลื่อมใสพึงกระทำ จึงได้กราบทูลว่า เอสาหํ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอสาหํ ตัดเป็น เอโส อหํ แปลว่า
ข้าพเจ้านี้.
หลายบทว่า ภวนฺตํ โคตมํ สรณํ คจฺฉามิ ความว่า ข้าพเจ้า
ขอถึงพระโคดมผู้เจริญว่าเป็นที่พึ่ง คือข้าพเจ้าขอถึง ขอคบ ขอช่องเสพ ได้แก่
ขอเข้าไปนั่งใกล้พระโคดมผู้เจริญ ด้วยความประสงค์นี้ว่า พระโคดมผู้เจริญ
ทรงเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้า คือทรงเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ทรงเป็นผู้ป้องกัน
ความทุกข์ และทรงทำประโยชน์เกื้อกูล (แก่ข้าพเจ้า) ข้าพเจ้าย่อมทราบ
คือย่อมรู้สึก ดังกราบทูลมาแล้วนั่นแล.
จริงอยู่ คติ (ความถึง) เป็นความหมายแห่งธาตุเหล่าใด แม้ พุทธิ
(ความรู้) ก็เป็นความหมายแห่งธาตุเหล่านั้น เพราะฉะนั้น บทว่า คจฺฉามิ